2/01/2555

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์



การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์  
   
   หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบจลาจลในปลายสมัยธนบุรีเสร็จสิ้นแล้ว  จึงได้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี  และขึ้นครองราชย์ในฐานะปฐมกษัตริย์ แ่ห่งราชวงศ์จักรี  ทรงพระนาว่า  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
     สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งกรุงเทพฯ  ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  เมื่อ พ.ศ.  2325
    สาเหตุที่ทรงย้ายราชธานี  มีดังนี้  คือ
     1.  พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ  มีวัดขนาบทั้ง  2  ข้าง  (คือวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลกยาราม  และวัดอรุณราชวราราม) 
     2.  ทรงไม่มีพระประสงค์จะให้ราชธานีแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยากั้น
     3.  พื้นที่นทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม  สามารถขยายเมืองออกได้อย่างกว้างขวาง
     4.  ฝั่งธนบุรีพื้นที่เป็นท้องคุ้ง  น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายได้ง่าย
     ในการสร้างพระบรมมหาราชวัง  โปรดให้สร้างวัดขึ้นในพระบรมมหาราชวังด้วย  คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  หรือวัดพระแก้ว  แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
      กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  หมายถึง  ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัชกาลที่ 1  ถึง  รัชกาลที่  3  ซึ่งนับว่าเป็นระยะเชื่อมต่อระหว่างประวัติศาสตร์ไทยยุคเก่า มาสู่การปฏิรูป และพัฒนาประเทศ ตามแบบอารยธรรมตะวันตกในยุคปัจจุบัน
     ความเจริญในด้านต่าง ๆ  ในสมัยรัชกาลที่  1  ถึงรัชกาลที่  3  มีดังนี้
  1. การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ถือตามแบบสมัยอยุธยา  โดยมีพระมหาษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด
  2. การปกครองส่วนกลาง มีลักษณะดังนี้  คือ
    • มีอัครมหาเสนาบดี  2  ตำแหน่ง  คือ
      • สมุหกลาโหม  เป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร  และปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
      • สมุหนายก  เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน และปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
    • มีจตุสดมภ์ทั้ง  4  ฝ่าย  ภายใต้การดูแลของสมุหนายก  ได้แก่
      • เสนาบดีกรมเมือง
      • เสนาบดีกรมวัง
      • เสนาบดีกรมคลัง
      • เสนาบดีกรมนา

  3. การปกครองส่วนภูมิภาค  แบ่งหัวเมืองออกเป็น  3  ประเภท  คือ
    1. หัวเมืองชั้นใน  หรือเมืองจัตวา
    2. หัวเมืองชั้นนอก
    • หัวเมืองประเทศราช  ถ้าเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลราชะานี จะต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้เมืองหลวง  3  ปีต่อครั้ง  ส่วนเมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี ให้ส่งมาปีละครั้ง

  4. กฎหมายไทยในสมัยนี้ ถือตามแบบอย่างอยุธยาและธนบุรี  แต่ได้มีการแก้ไขตรวจสอบขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1  มีชื่อว่า  กฎหมายตราสามดวง  คือ  ตราราชสีห์  ตราคชสีห์  และตราบัวแก้ว ใช้สืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5
  5. การศึกษามีศูนย์กลางอยู่ที่วัด  วัง  และตำหนักเจ้านาย   รัชกาลที่  3  โปรดให้จารึก ตำราการแพทย์แผนโบราณ ไว้ที่วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งได้ชื่อว่า  เป็นวัดมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
  6. การศาสนา  การทำนุบำรุงศาสนา จะมีการทำสังคายนา ชำระพระไตรปิฎก  การออกกฎหมายสำหรับพระสงฆ์ และการสร้างวัดสำคัญ  เช่น วัดพระศรีรัตนศาดาราม  วัดสุทัศน์เทพวราราม  และวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม  เป็นต้น  ในสมัยรัชกาลที่  2  โปรดให้ส่งทูตไปศึกษาความเป็นไป ของพระพุทธศาสนาในลังกา  และได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา กลับมา  ในสมัยรัชกาลที่  มีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดเป็นจำนวนมาก  จนนับได้ว่า เป็นสมัยที่มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก

7.ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ได้ขยายตัวมากขึ้น  เนื่องจากอยู่ในยุคแห่งการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม และลัทธิจักรวรรดินิยม  ชาติตะวันตกที่สำคัญ ที่เข้ามาติดต่อกับไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ได้แก่ 
  1. โปรตุเกส  เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อ  ชาวโปรตุเกส ชื่อ อันโตนิโอ  เอด วิเสนท์ (องตนวีเสน) เป็นผู้อัญเชิญสาส์นเข้ามา ในรัชกาลที่ 1  ในสมัยรัชกาลที่ 2 ไทยได้ส่งเรือไปค้าขาย กับโปรตุเกส ที่มาเก๊า  และโปรตุเกสได้ขอเข้ามาตั้งสถานกงสุล ในประเทศ ได้สำเร็จเป็นประทเศแรก
  2. อังกฤษ  พยายามทำไมตรีกับไทย เพื่อหวังประโยชน์ในดินแดนมลายู   ในสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษ ได้มาขอความช่วยเหลือให้ไทยไปช่วยรบกับพม่า  ไทยกับอังกฤษ ได้ทำสนธิสัญญา โดยสมบูรณ์เป็นฉบับแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ สนธิสัญญาเบอร์นี ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369  โดยมีสาระสำคัญ คือ  ไทยกับอังกฤษ จะมีไมตรีจิตต่อกัน  อำนวยความสะดวกในด้านการค้าซึ่งกันและกัน และเรือสินค้า ที่เข้ามาค้าขาย ต้องเสียภาษีเบิกร่อง หรือภาษีปากเรือ แทนการเก็บภาษีตามแบบเดิม